วันอังคารที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2562

เลี้ยงกบ กระชังบก ต้นทุนต่ำ เสริมรายได้หลักหมื่นต่อเดือน




กบ 2 เดือนในกระชังบก
กบอบอ๊บ อาชีพเสริมสร้างรายได้ ถึงแม้ในฤดูฝนผลผลิตกบธรรมชาติจะออกมา แต่การเพาะเลี้ยงก็ยังคงต้องดำเนินไป จะเสียเปรียบหน่อยก็เป็นเพียงราคาที่ต่ำลง แต่เป็นเพราะเมนูกบ มีความต้องการบริโภคการเพาะเลี้ยงจึงต้องดำเนินควบคู่ไป

หลายๆ คนให้ความสนใจการเพาะเลี้ยงกบ มือใหม่เกิดขึ้นเยอะ ถือเป็นอาชีพเสริม ทดสอบความสามารถ การเลี้ยงในบ่อปูน การลงทุนสร้างบ่อค่อนข้างสูง ใช้พื้นที่เยอะพอสมควร แล้วถ้าไม่ใช่บ่อปูน เลี้ยงรูปแบบไหนได้บ้าง นี่คือคำถามของการเลี้ยงที่ต้องการลดต้นทุน
ยิ้มได้ เพราะการเลี้ยงกบในกระชังบก
นิตยสารสัตว์น้ำได้เสนอรูปแบบการเลี้ยงกบไปบ้างแล้ว ในฉบับนี้ขอแนะนำการเลี้ยงกบในกระชังบกของ คุณจุฑามาศ เบญจวรรณ ผู้ประดิษฐ์กระชังบกเลี้ยงกบเองใน อ.เดิมบางนางบวช จ.สุพรรณบุรี
คุณจุฑามาศ กล่าวว่า ตนเองมีอาชีพทำนาและทำสวนมะม่วง เมื่อปี 2556 สนใจอาชีพการเลี้ยงกบเพื่อเสริมรายได้ จึงใช้กระชังแขวนตามร่องสวน ขนาด 2×3 เมตร ปล่อยกบลงเลี้ยงกระชังละ 1,000 ตัว เลี้ยงรูปแบบนี้อยู่ 2 ปี ทนไม่ไหวกับปัญหาตัวเงินตัวทองเข้ามารบกวนกบที่เลี้ยงในกระชัง และสังเกตเห็นฟาร์มกบละแวกใกล้บ้านทำกระชังบกขึ้นมาเพาะพันธุ์กบ ตนจึงนำมาดัดแปลงเย็บกระชังบกให้มีมุม 4 มุม ให้คล้ายกับกระชังเลี้ยงปลา เพื่อให้ง่ายต่อการทำงาน
การเลี้ยงกบที่ใช้น้ำน้อย
ข้อดีของการเลี้ยงกบในกระชังบก
กบสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ กระชังบกถือเป็นการดัดแปลงจากวิธีเดิมที่นิยมเลี้ยงกัน ก็คือ รูปแบบการเลี้ยงในกระชัง ข้อดีของการเลี้ยงกบในกระชังร่องสวน กบจะโตดี ได้อยู่ในสภาพแวดล้อมธรรมชาติจากปัญหากวนใจ ซึ่งต้องยกพลขึ้นบก โดยการใช้พลาสติกรองก้นกระชังความสูงประมาณ 20 เซนติเมตร ล้อมรอบกระชังด้วยตาข่ายมุ้งเขียวความสูง 100 เซนติเมตร
รูปแบบนี้ถือเป็นรูปแบบการเลี้ยงตามความสะดวก เพราะขนาดกระชังสามารถกำหนดได้ตามพื้นที่ที่ต้องการ เพราะกบเป็นสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ การทำสโลบพื้นลาดเอียงจะเป็นการสร้างพื้นบกและพื้นน้ำคนละฟากฝั่งได้ เป็นรูปแบบที่ใช้น้ำน้อย ประหยัดน้ำ ส่วนการ เปลี่ยนถ่ายน้ำ สะดวก ทำได้ง่าย เพียงแค่ปลดเชือกน้ำก็จะไหลออกมา
การเพาะพันธุ์กบในกระชังบก
การเพาะพันธุ์ส่วนมากแล้วจะใช้รูปแบบการเพาะในบ่อปูนที่ได้เปรียบในเรื่องของการจัดการ ดูแล แต่สำหรับกระชังบกก็ทำได้เช่นกัน คุณจุฑามาศจะใช้กระชังขนาด 2×5 เพาะพันธุ์กบ 5 คู่ โดยพ่อแม่พันธุ์ที่จะนำมาเพาะจะคัดเลือกกบที่มีรูปร่างสวย สมบูรณ์ ที่เลี้ยงได้ในแต่ละรอบ มีคนแยกออกมาเลี้ยงให้ได้อายุ 1 ปี ขึ้นไป มาปล่อยในช่วงเย็น ให้ผสมพันธุ์กันเอง โดยไม่ต้องใช้ฮอร์โมนกระตุ้นแต่อย่างไร อย่างในหน้าฝนการเพาะพันธุ์จะทำได้ง่าย เพราะถือเป็นฤดูกาลของกบอย่างแท้จริง
เช้าวันรุ่งขึ้นก็ทำการแยกพ่อแม่พันธุ์ออกจากไข่ ไข่จะใช้เวลา 24 ชั่วโมง ฟักออกมาเป็นตัว
อาหารที่มใช้ในการเลี้ยงกบ
อาหารสำหรับลูกอ๊อด
ลูกอ๊อดขนาดเล็ก การจะให้กินอาหารเม็ดติดปัญหาในเรื่องขนาดที่ใหญ่กว่าปาก คุณจุฑามาศเลือกใช้อาหารไฮเกรดผสมกับน้ำ ใช้อาหารอ่อนตัว แล้วนำมาปั้นเป็นก้อน ใช้อาหารปั้นก้อนเลี้ยงลูกอ๊อด 1 สัปดาห์ แล้วจึงปรับเปลี่ยนไปเป็นการหว่านอาหารเม็ด โดยเลือกใช้ อาหารกบของ บริษัทกรุงไทยอาหาร จำกัด (มหาชน) ให้อาหารวันละ 2 มื้อ ใช้เวลาอนุบาลลูกอ๊อดไปเป็นลูกกบ 30 วัน สามารถจำหน่ายผลผลิตได้ กระชังขนาด 2×5 ได้ผลผลิตออกจำหน่าย 2,000-3,000 ตัว จำหน่ายเดือนละ 2-3 หมื่นตัว
รูปแบบการเลี้ยงกบในกระชังบก
จากคุณสมบัติที่ดี ทำให้รูปแบบการเลี้ยงกบ วิธีการนี้มีความน่าสนใจสำหรับคนเลี้ยงกบมือใหม่ ให้ได้ทดลองเลี้ยง ขนาดกระชัง ที่สามารถเลี้ยงได้ จะเลี้ยงที่ขนาด 2×3 เมตร ปล่อยกบได้ 1,000 ตัว กระชังบกขนาด 2×4 เมตร ปล่อยกบได้ 1,500 ตัว และกระชังขนาด 2×5 เมตร ปล่อยลูกได้ 2,000 ตัว สามารถเลี้ยงได้จนกบโต
อาหารกบ จะให้วันละ 2 มื้อ เดินให้รอบเดียว ในปริมาณที่กบกินอิ่ม ไม่เน้นการให้อาหารเยอะ จะทำให้กบท้องอืด อัตรารอดจะต่ำ
การเปลี่ยนถ่ายน้ำ จะทำวันเว้นวัน โดยการใช้สายยางฉีดล้างทำความสะอาดของเสีย
การคัดไซส์ การคัดไซส์ใน 1 กระชัง จะคัด 3 ไซส์ เล็ก, กลาง, ใหญ่ จะคัดกบอายุ 1-2 เดือน เพื่อลดปัญหาการแตกไซส์ กัดกินกันเอง เป็นการเพิ่มอัตรารอด
การป้องกันโรค การเลี้ยงกบในกระชังบกจะง่ายต่อการทำความสะอาด ไม่แตกต่างจากการเลี้ยงในบ่อปูน เรื่องของการเกิดโรคแทบจะไม่เป็นปัญหา ที่จะมีบ้างก็เป็นการกัดกินกันเอง กบหนาแน่นจนเกินไป ทำให้กบตาย และถ้ากบกินอาหารมากเกินไป ท้องอืด จะพบการตายบ้าง แต่ไม่มาก เพราะสามารถควบคุมได้ กระชัง/กระชัง
ผลผลิต กระชังขนาด 2×5 ปล่อยลูกกบ 2,000-2,500 ตัว จะได้ผลผลิต 150-200 กิโลกรัม ใช้ระยะเวลาการเลี้ยง 3 เดือนครึ่ง สามารถทยอยจำหน่ายผลผลิตออกได้ สำหรับตลาดภายในประเทศ จะบริโภคกบไซส์ 4-5 ตัว ส่วนตลาดต่างประเทศที่พ่อค้ามารับไปส่ง จะบริโภคกบขนาดไม่ใหญ่มาก อยู่ที่ไซส์ 6-8 ตัว/ก.ก.
กบ 2 เดือนในกระชังบก
กบสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ ปัจจุบันมีการพัฒนาไขว้สายพันธุ์ เพื่อให้กบใช้ระยะเวลาการเลี้ยงสั้นลงมีการเจริญเติบโตที่ดี ตลาดผู้บริโภค ยังมีความต้องการสูงสามารถเลี้ยงได้ตลอดทั้งปี แต่ช่วงที่มีกำไรจะเป็นช่วงต้นปี ประมาณเดือน ม.ค-พ.ค ราคาจะขยับสูงขึ้นเกษตรกรที่สนใจ ต้องมีการวางแผนและศึกษาตลาดให้ดีก่อนลงมือเลี้ยง
รูปแบบการเลี้ยงกบในกระชังบกถือเป็นทางเลือกหนึ่งให้กับเกษตรกรที่ต้องการสร้างอาชีพเสริม ในพื้นที่จำกัดสามารถเลือกขนาดกระชังบกได้ตามความเหมาะสม เบญจวรรณ ฟาร์มกบกระชังบก จำหน่ายกระชังบกเย็บมือตามขนาดต้องการ และลูกกบพร้อมลงกระชัง เกษตรกรที่สนใจสามารถเข้าไปเรียนรู้รูปแบบการเลี้ยงกบได้ที่ เบญจวรรณ ฟาร์มกบกระชังบก 1/2 ม.3 ต.หัวเขา อ.เดิมบางนางบวช จ.สุพรรณบุรี หรือโทร.09-8450-5480 หรือทาง http://www.facebook.com/ben.benjawan.


รู้หรือไม่? ใบอ้อย 4 กิโลกรัม สามารถผลิตเป็นน้ำมันดิบได้ถึง 1 ลิตร ใช้ระยะเวลา 30-40 นาที





รู้หรือไม่? ใบอ้อย 4 กิโลกรัม สามารถผลิตเป็นน้ำมันดิบได้ถึง 1 ลิตร ใช้ระยะเวลา 30-40 นาที ดังนั้น ถ้าใบอ้อย 10 ล้านตัน จะทำให้ได้น้ำมันดิบประมาณ 2.5 พันล้านลิตรเลยทีเดียว!!
ทั้งที่บราซิล สหรัฐอเมริกา ขึ้นชื่อมีพื้นที่ ปลูกอ้อยมาก ไทยเทียบไม่ติดฝุ่น…แต่วันนี้ไทยจะเป็นประเทศแรกของโลกที่สามารถนำใบอ้อยมา ผลิตเป็นน้ำมันดิบเทียบเท่าน้ำมันจากใต้พื้นพิภพ                                                          
ผลงานวิจัยของ รศ.ดร.รัชพล สันติวรากร อาจารย์วิศวกรรมเครื่องกล พร้อมด้วย นายวศกร ตรีเดช นักศึกษาระดับปริญญาเอก ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น                                             
ไปคว้ารางวัลเหรียญเงิน หรือ Silver Prize ในการประกวดและแสดงผลงาน Seoul International Invention 2014 หรือ SIIF ซึ่งเป็นการประกวดนวัตกรรมระดับชาติ ณ กรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้ เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน ถึง 2 ธันวาคม 2557 ที่ผ่านมา          
รศ.ดร.รัชพล สันติวรากร เผยว่า “ผลงานวิจัยนี้สอดคล้องกับการแก้ไขปัญหาสภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิงของโลก จึงทำให้ประสบความสำเร็จได้รับ Silver Prize ในงาน Seoul International Invention 2014 ซึ่งเป็นงานประกวดนวัตกรรมระดับชาติ
นโยบายของประเทศไทยก็มีการส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนมากขึ้น จากการสำรวจประเทศไทยพบว่ามีปริมาณชีวมวลจำนวนมาก และชีวมวลหลายอย่างถูกนำไปใช้ประโยชน์อย่างไม่คุ้มค่า อาทิเช่น ใบอ้อย แกลบ กากอ้อย ไม้ และฟืน เป็นต้น                  
โดยชีวมวลดังกล่าวสามารถนำมาแปรรูปเป็นแหล่งพลังงานทดแทนได้อย่างมีศักยภาพ คณะวิจัยจึงเลือกใบอ้อยซึ่งมีค่าความร้อนสูงเมื่อเทียบกับชีวมวลประเภทอื่น และยังเป็นวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรที่มีปริมาณกว่า 10 ล้านตันต่อปี มาใช้ในการวิจัยครั้งนี้
ผลงานวิจัยพบว่า ใบอ้อย 4 กิโลกรัม ได้น้ำมันดิบ 1 ลิตร ใช้ระยะเวลา 30-40 นาที ดังนั้นถ้าใบอ้อย 10 ล้านตัน จะทำให้ได้น้ำมันดิบประมาณ 2.5 พันล้านลิตร ซึ่งมีมูลค่ามหาศาลเป็นแหล่งพลังงานทางเลือกที่จะช่วยสร้างความมั่นคงทางด้านพลังงานและเศรษฐกิจให้ประเทศไทยได้”                                                                        
ศ.ดร.รัชพล กล่าวว่า “เตาปฏิกรณ์ฟลูอิดไดซ์เบดซึ่งมีลักษณะเป็นหอสูง 154 เซนติเมตร ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 10 เซนติเมตร เพื่อเผาใบอ้อยที่ถูกบดละเอียด ผงใบอ้อยจะถูกป้อนเข้าด้วยระบบที่มีอัตราการป้อนที่ 10 กิโลกรัมต่อชั่วโมง
โดยภายในบรรจุเม็ดทรายซึ่งใช้เป็นตัวนำความร้อนจากก๊าซไนโตรเจนที่ผ่านฮีตเตอร์ควบคุมให้ได้อุณหภูมิ 500 องศาเซลเซียส เป่าขึ้นจากด้านล่างของหอเตาปฏิกรณ์ ทำให้เม็ดทรายร้อนและเคลื่อนไหวลักษณะแขวนลอยอยู่ภายในหอเตาปฏิกรณ์ ผงใบอ้อยจึงถูกเผาไหม้กลายสภาพเป็นไอ                                                                                                                          
นอกจากนี้ยังได้มีการออกแบบภายในให้มีระบบดักจับผงใบอ้อยที่เกิดจากการเผาไหม้ไม่สมบูรณ์ด้วยไซโคลน 2 ชุด เมื่อไอจากการเผาไหม้ผ่านเข้าสู่ระบบควบแน่นที่อุณหภูมิ -4 องศาเซลเซียส จึงกลายเป็นน้ำมันดิบด้วยเทคโนโลยีไพโรไลซิสในการใช้ความร้อนสกัดน้ำมันจากชีวมวล”                                                                                                       
รศ.ดร.รัชพล กล่าวต่อว่า “ปัจจัยที่ส่งผลต่อปริมาณน้ำมันดิบที่ได้ คือ อุณหภูมิของหอเตาปฏิกรณ์ และอัตราการไหลของก๊าซไนโตรเจน หากสัดส่วนไม่เหมาะสมจะทำให้เกิดปริมาณไอที่ไม่กลั่นตัวเป็นน้ำมันดิบสูงขึ้น และปริมาณถ่านชาร์หรือผงใบอ้อยที่เกิดจากการเผาไหม้ไม่สมบูรณ์มากขึ้น โดยน้ำมันดิบที่ได้ยังมีน้ำเป็นส่วนประกอบอยู่                                        
เนื่องจากความชื้นของใบอ้อยและธาตุไฮโดรเจนที่ทำปฏิกิริยาความร้อนกลั่นตัวออกมาเป็นน้ำ จึงต้องทำการต้มที่จุดเดือดของน้ำอุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส เพื่อขับน้ำที่เป็นส่วนประกอบในน้ำมันดิบออก จากนั้นนำน้ำมันดิบที่ได้มาวิเคราะห์คุณสมบัติเบื้องต้น
พบว่า ค่าความร้อนเชื้อเพลิง ค่าความหนืด ความหนาแน่น และความเป็นกรดด่าง เมื่อผ่านการกลั้นกลายเป็นน้ำมันดีเซลจะมีค่าใกล้เคียงกับน้ำมันดีเซลที่ใช้ทั่วไปในปัจจุบัน โดยมั่นใจว่าถ้ามีการปรับปรุงคุณภาพน้ำมันเชื้อเพลิงชีวภาพนี้ จะสามารถนำไปใช้ทดแทนน้ำมันเชื้อเพลิงที่ขาดแคลนในปัจจุบันได้ แต่จากผลงานวิจัยนี้ซึ่งเป็นเครื่องต้นแบบ ยังพบสิ่งที่ต้องพัฒนาหลายอย่าง อาทิเช่น เศษผงใบอ้อยที่เกิดการเผาไหม้ไม่สมบูรณ์”                                                                      
“โครงการวิจัยเตาปฏิกรณ์ฟลูอิดไดซ์เบด ผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงชีวภาพจากใบอ้อย ด้วยเทคโนโลยีไพโรไลซิส จึงดำเนินการวิจัยต่อในเตาปฏิกรณ์รุ่นที่สองซึ่งได้มีการออกแบบและสร้างขึ้นใหม่ โดยพัฒนาต่อยอดจากเตาปฏิกรณ์รุ่นแรก เช่น หอเตาปฏิกรณ์ที่มีความสูงกว่า 220 เซนติเมตร ระบบป้อนผงใบอ้อยแบบใหม่ ระบบวนลูปผงใบอ้อยจากการเผาไหม้ไม่สมบูรณ์กลับเข้าสู่หอเตาปฏิกรณ์ใหม่เพื่อพัฒนาเครื่องรุ่นที่สองให้เกิดการเผาไหม้สมบูรณ์ 100 เปอร์เซ็นต์ ระบบควบแน่นให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เป็นต้น นอกจากนี้ยังจะมีการนำชีวมวลประเภทอื่นมาใช้ในการทดลองอีกด้วย” รศ.ดร.รัชพล กล่าวในที่สุด
ขอบคุณที่มา https://www.kku.ac.th/news/
ภาพ/ข่าว : วรวิทย์ สิริภานุวัฒน์
ภาพข่าวหลัก : บริพัตร ทาสี

รู้หรือไม่? ใบอ้อย 4 กิโลกรัม สามารถผลิตเป็นน้ำมันดิบได้ถึง 1 ลิตร ใช้ระยะเวลา 30-40 นาที





รู้หรือไม่? ใบอ้อย 4 กิโลกรัม สามารถผลิตเป็นน้ำมันดิบได้ถึง 1 ลิตร ใช้ระยะเวลา 30-40 นาที ดังนั้น ถ้าใบอ้อย 10 ล้านตัน จะทำให้ได้น้ำมันดิบประมาณ 2.5 พันล้านลิตรเลยทีเดียว!!
ทั้งที่บราซิล สหรัฐอเมริกา ขึ้นชื่อมีพื้นที่ ปลูกอ้อยมาก ไทยเทียบไม่ติดฝุ่น…แต่วันนี้ไทยจะเป็นประเทศแรกของโลกที่สามารถนำใบอ้อยมา ผลิตเป็นน้ำมันดิบเทียบเท่าน้ำมันจากใต้พื้นพิภพ                                                          
ผลงานวิจัยของ รศ.ดร.รัชพล สันติวรากร อาจารย์วิศวกรรมเครื่องกล พร้อมด้วย นายวศกร ตรีเดช นักศึกษาระดับปริญญาเอก ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น                                             
ไปคว้ารางวัลเหรียญเงิน หรือ Silver Prize ในการประกวดและแสดงผลงาน Seoul International Invention 2014 หรือ SIIF ซึ่งเป็นการประกวดนวัตกรรมระดับชาติ ณ กรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้ เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน ถึง 2 ธันวาคม 2557 ที่ผ่านมา          
รศ.ดร.รัชพล สันติวรากร เผยว่า “ผลงานวิจัยนี้สอดคล้องกับการแก้ไขปัญหาสภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิงของโลก จึงทำให้ประสบความสำเร็จได้รับ Silver Prize ในงาน Seoul International Invention 2014 ซึ่งเป็นงานประกวดนวัตกรรมระดับชาติ
นโยบายของประเทศไทยก็มีการส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนมากขึ้น จากการสำรวจประเทศไทยพบว่ามีปริมาณชีวมวลจำนวนมาก และชีวมวลหลายอย่างถูกนำไปใช้ประโยชน์อย่างไม่คุ้มค่า อาทิเช่น ใบอ้อย แกลบ กากอ้อย ไม้ และฟืน เป็นต้น                  
โดยชีวมวลดังกล่าวสามารถนำมาแปรรูปเป็นแหล่งพลังงานทดแทนได้อย่างมีศักยภาพ คณะวิจัยจึงเลือกใบอ้อยซึ่งมีค่าความร้อนสูงเมื่อเทียบกับชีวมวลประเภทอื่น และยังเป็นวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรที่มีปริมาณกว่า 10 ล้านตันต่อปี มาใช้ในการวิจัยครั้งนี้
ผลงานวิจัยพบว่า ใบอ้อย 4 กิโลกรัม ได้น้ำมันดิบ 1 ลิตร ใช้ระยะเวลา 30-40 นาที ดังนั้นถ้าใบอ้อย 10 ล้านตัน จะทำให้ได้น้ำมันดิบประมาณ 2.5 พันล้านลิตร ซึ่งมีมูลค่ามหาศาลเป็นแหล่งพลังงานทางเลือกที่จะช่วยสร้างความมั่นคงทางด้านพลังงานและเศรษฐกิจให้ประเทศไทยได้”                                                                        
ศ.ดร.รัชพล กล่าวว่า “เตาปฏิกรณ์ฟลูอิดไดซ์เบดซึ่งมีลักษณะเป็นหอสูง 154 เซนติเมตร ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 10 เซนติเมตร เพื่อเผาใบอ้อยที่ถูกบดละเอียด ผงใบอ้อยจะถูกป้อนเข้าด้วยระบบที่มีอัตราการป้อนที่ 10 กิโลกรัมต่อชั่วโมง
โดยภายในบรรจุเม็ดทรายซึ่งใช้เป็นตัวนำความร้อนจากก๊าซไนโตรเจนที่ผ่านฮีตเตอร์ควบคุมให้ได้อุณหภูมิ 500 องศาเซลเซียส เป่าขึ้นจากด้านล่างของหอเตาปฏิกรณ์ ทำให้เม็ดทรายร้อนและเคลื่อนไหวลักษณะแขวนลอยอยู่ภายในหอเตาปฏิกรณ์ ผงใบอ้อยจึงถูกเผาไหม้กลายสภาพเป็นไอ                                                                                                                          
นอกจากนี้ยังได้มีการออกแบบภายในให้มีระบบดักจับผงใบอ้อยที่เกิดจากการเผาไหม้ไม่สมบูรณ์ด้วยไซโคลน 2 ชุด เมื่อไอจากการเผาไหม้ผ่านเข้าสู่ระบบควบแน่นที่อุณหภูมิ -4 องศาเซลเซียส จึงกลายเป็นน้ำมันดิบด้วยเทคโนโลยีไพโรไลซิสในการใช้ความร้อนสกัดน้ำมันจากชีวมวล”                                                                                                       
รศ.ดร.รัชพล กล่าวต่อว่า “ปัจจัยที่ส่งผลต่อปริมาณน้ำมันดิบที่ได้ คือ อุณหภูมิของหอเตาปฏิกรณ์ และอัตราการไหลของก๊าซไนโตรเจน หากสัดส่วนไม่เหมาะสมจะทำให้เกิดปริมาณไอที่ไม่กลั่นตัวเป็นน้ำมันดิบสูงขึ้น และปริมาณถ่านชาร์หรือผงใบอ้อยที่เกิดจากการเผาไหม้ไม่สมบูรณ์มากขึ้น โดยน้ำมันดิบที่ได้ยังมีน้ำเป็นส่วนประกอบอยู่                                        
เนื่องจากความชื้นของใบอ้อยและธาตุไฮโดรเจนที่ทำปฏิกิริยาความร้อนกลั่นตัวออกมาเป็นน้ำ จึงต้องทำการต้มที่จุดเดือดของน้ำอุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส เพื่อขับน้ำที่เป็นส่วนประกอบในน้ำมันดิบออก จากนั้นนำน้ำมันดิบที่ได้มาวิเคราะห์คุณสมบัติเบื้องต้น
พบว่า ค่าความร้อนเชื้อเพลิง ค่าความหนืด ความหนาแน่น และความเป็นกรดด่าง เมื่อผ่านการกลั้นกลายเป็นน้ำมันดีเซลจะมีค่าใกล้เคียงกับน้ำมันดีเซลที่ใช้ทั่วไปในปัจจุบัน โดยมั่นใจว่าถ้ามีการปรับปรุงคุณภาพน้ำมันเชื้อเพลิงชีวภาพนี้ จะสามารถนำไปใช้ทดแทนน้ำมันเชื้อเพลิงที่ขาดแคลนในปัจจุบันได้ แต่จากผลงานวิจัยนี้ซึ่งเป็นเครื่องต้นแบบ ยังพบสิ่งที่ต้องพัฒนาหลายอย่าง อาทิเช่น เศษผงใบอ้อยที่เกิดการเผาไหม้ไม่สมบูรณ์”                                                                      
“โครงการวิจัยเตาปฏิกรณ์ฟลูอิดไดซ์เบด ผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงชีวภาพจากใบอ้อย ด้วยเทคโนโลยีไพโรไลซิส จึงดำเนินการวิจัยต่อในเตาปฏิกรณ์รุ่นที่สองซึ่งได้มีการออกแบบและสร้างขึ้นใหม่ โดยพัฒนาต่อยอดจากเตาปฏิกรณ์รุ่นแรก เช่น หอเตาปฏิกรณ์ที่มีความสูงกว่า 220 เซนติเมตร ระบบป้อนผงใบอ้อยแบบใหม่ ระบบวนลูปผงใบอ้อยจากการเผาไหม้ไม่สมบูรณ์กลับเข้าสู่หอเตาปฏิกรณ์ใหม่เพื่อพัฒนาเครื่องรุ่นที่สองให้เกิดการเผาไหม้สมบูรณ์ 100 เปอร์เซ็นต์ ระบบควบแน่นให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เป็นต้น นอกจากนี้ยังจะมีการนำชีวมวลประเภทอื่นมาใช้ในการทดลองอีกด้วย” รศ.ดร.รัชพล กล่าวในที่สุด
ขอบคุณที่มา https://www.kku.ac.th/news/
ภาพ/ข่าว : วรวิทย์ สิริภานุวัฒน์
ภาพข่าวหลัก : บริพัตร ทาสี

1 ไร่วัยทำงาน ไม่ต้องทิ้งงานประจำก็ทำได้แถมยังเป็นรายได้หลักของครอบครัว(ชมคลิบ)

1 ไร่วัยทำงาน ไม่ต้องทิ้งงานประจำก็ทำได้แถมยังเป็นรายได้หลักของครอบครัว(ชมคลิบ)




1 ไร่วัยทำงาน ไม่ต้องทิ้งงานประจำก็ทำได้
หากจะปล่อยเวลาให้ล่วงเลยไปจนใกล้วัยเกษียณแล้วจึงค่อยเริ่มต้นลงมือทำ 1 ไร่ใกล้เกษียณอาจจะช้าไปเสียแล้ว แต่คราวนี้มนุษย์เงินเดือนที่ทำงานประจำ มีรายได้เป็นหลักเป็นแหล่งก็สามารถทำเกษตรในพื้นที่ 1 ไร่ ได้เช่นกัน และที่สำคัญต้องไม่ลาออกจากงาน ยังมีเงินเดือนเป็นรายได้หลักอยู่เหมือนกัน
1 ไร่ วัยทำงาน เกษตรประณีตทำได้ ไม่ต้องทิ้งงานประจำผลการค้นหารูปภาพสำหรับ 1 ไร่วัยทำงาน ไม่ต้องทิ้งงานประจำก็ทำได้
เกษตรประณีต 1 ไร่ สำหรับมนุษย์เงินเดือน
หลังจากแนวคิดเรื่อง 1 ไร่ใกล้เกษียณ ถูกตีพิมพ์ลงในวารสารเกษตรธรรมชาติ ในฉบับที่ ๘/๕๖ ก็ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากคนวัยใกล้เกษียณทั้งหลาย แต่หากจะรอให้ถึงวัยใกล้เกษียณ กำลังวังชาที่เคยมีคงเริ่มถดถอย ความตั้งใจที่จะมีบ้าน สวน ปลูกผัก เลี้ยงปลา เป็นงานอดิเรกหารายได้เล็กๆน้อยๆเลี้ยงตัวในยามเกษียณก็ดูท่าจะทำได้ยากแล้วในตอนนั้น
ผู้ใหญ่สมศักดิ์ เครือวัลย์ แห่งบ้านสองสลึง ตำบลสองสลึง อำเภอแกลง จังหวัดระยอง ได้มีแนวคิดเรื่อง” 1 ไร่วัยทำงาน “ ขึ้นมาสำหรับมนุษย์เงินเดือนที่แม้จะทำงานประจำอยู่ก็สามารถที่จะทำประโยชน์จากพื้นที่ 1 ไร่ได้ โดยที่ไม่ต้องลาออกจากงาน ทิ้งเงินเดือนที่เป็นรายได้รูปภาพที่เกี่ยวข้องหลักแต่อย่างใด
“ เมื่อก่อนตอนที่ทำเรื่อง 5 ไร่ 5 ปี ปลดหนี้ 1 ผมออกแบบพื้นที่ขนาดใหญ่เกินไป คนจะทำตามพอเห็นเนื้อที่มากก็ทำตามกันไม่ไหวจึงรู้สึกว่ามันมีช่องโหว่เลยลดขนาดพื้นที่ให้เล็กลง แต่มีเนื้อหาที่เข้มข้น แต่ก็เกิดปัญหาอีกคือไม่ว่าผมจะพูดอะไรไปทุกคนจะมองเรื่องตัวเงินเป็นหลัก อย่างทำเรื่อง 3 ไร่ ใกล้เกษียณ ก็จะถามว่า 1 ปีได้เท่าไหร่ เอาเงินเป็นตัวตั้ง แต่ผมต้องการอยากให้มองถึงเรื่องของความยั่งยืนทางด้านอาหาร เพราะคนทุกวันนี้มีงานประจำทำกันอยู่แล้วบางคนมีเงินเดือน เดือนละ 3๐,๐๐๐-5๐,๐๐๐ บาท แต่พอสิ้นเดือนเงินไม่เหลือเลย แต่คนกลุ่มนี้แหละมีที่ดิน แต่ทิ้งที่ดินของตัวมาทำงานในเมืองกันหมด ลองคิดดู ว่าถ้าคุณมีที่ดินสัก 1 ไร่ หรือ สัก 1ไร่ครึ่ง ออกแบบเนื้อที่ให้กะทัดรัด ถ้า 1 ครอบครัว คนหนึ่งทำงานประจำตามปกติ มีเงินเดือนเป็นรายได้หลัก ส่วนคนที่อยู่บ้านไม่ได้ทำงานอะไร เลี้ยงลูก ดูแลบ้านเฉยๆ ก็เป็นคนดูแลเรื่อง 1 ไร่นี้ แรงงานเพียงคนเดียวก็ทำได้ อยากกินอะไรก็ปลูก เพียง 1 ไร่ ก็มีกินทุกอย่าง “ ผู้ใหญ่สมศักดิ์กล่าว
เศรษฐกิจพอเพียงขั้นพื้นฐานเริ่มต้นจากความมั่นคงทางอาหาร
เศรษฐกิจพอเพียง มี 2 ขั้น ขั้นที่ 1 เป็นขั้นพื้นฐาน ขั้นที่ 2 เป็น ขั้นก้าวหน้า แต่หลายคนมองข้ามขั้นพื้นฐานอย่างเรื่องความมั่นคงทางอาหารซึ่งเป็นขั้นพื้นฐานกันหมด ติดถึงแต่เรื่องรายได้ซึ่งเป็นขั้นก้าวหน้า พื้นที่น้อยๆ เพียง 1-2 ไร่ก็สามารถสร้างพื้นฐานของเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงได้ วันนี้ให้ทำขั้นพื้นฐานก่อน พอขั้นพื้นฐานสำเร็จแล้ว มีกินแล้ว เหลือกินแจก เหลือกินเก็บ เหลือใช้ เงินจะมาหาเอง
คิดอะไรไม่ออก ปลูกต้นไม้ไว้ก่อน
ผู้ใหญ่สมศักดิ์นำองค์ความรู้เรื่องป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง มาใช้ในพื้นที่ 1 ไร่ เพื่อสร้างพื้นฐานเรื่องความมั่นคงทางอาหาร ลดรายจ่ายเรื่องค่าอาหาร ปลูกต้นไม้ ปลูกผักกินเองในบ้าน และ แจกจ่ายให้เพื่อนบ้านและมิตรสหาย
“ ถ้าไม่รู้ว่าจะเริ่มจากอะไรดี ให้ใช้เวลาปลูกต้นไม้วันละ 10 ต้น เวลาที่เหลือจากนั้นก็ไปทำอย่างอื่ร ก็จะได้ป่า 3 อย่างไปโดยอัตโนมัติ ลองคิดดูว่า 365 วัน จะปลูกต้นไม้ได้ 3,650 ต้น หากปลูกมะเขือ 6 เดือนก็มีมะเขือกินแล้ว พริกก็เหมือนกัน แต่แทนที่จะกินพริกไปจนตายก็มาเพาะต้นพริกใส่ถุงไว้วันละ 10 ต้น หากจะขาย ก็ขายต้นละ 10 บาท วันหนึ่งก็ 100 บาท เพื่อนบ้านมาหา ใครไปใครมาก็แจกเขาไป เหลือกินให้แจก พอแจกบ่อยๆ เวลาไปทำงานไม่ต้องซื้ออะไรไปเลย ไปทำงานก็เอาของที่ปลูกที่บ้านใส่ถุงไปวางที่ทำงาน ฝากคนนู้นบ้าง คนนี้บ้าง ฝากทุกวัน ไม่ต้องไปซื้ออะไรกิน เดี๋ยวคนนั้น คนนี้ก็ซื้อของติดไม้ติดมือมาฝาก พอถึงเวลากลับบ้านก็ไม่ต้องซื้ออะไรกลับ เพราะที่บ้านมีทุกอย่างแล้ว พอถึงสิ้นเดือนดูสิว่าเงินเหลือเท่าไหร่ มีเงินเดือนเป็นรายได้หลัก ตัดค่าใช้จ่ายเรื่องการซื้ออาหารออกไป บริหารจัดการให้ได้บาท ให้ได้หมื่นเหลือหมื่น แค่นั้นก็พอแล้ว” พ่อผู้ใหญ่สมศักดิ์กล่าว
พลิกฟื้นดินเลว ปลูกต้นไม้ สร้างฝาย ขุดคลองไส้ไก่
เพื่อเป็นต้นแบบให้กับมนุษย์เงินเดือน พ่อผู้ใหญ่สมศักดิ์จึงได้ออกแบบพื้นที่ 1 ไร่ โดยเลือกพื้นที่ดินเลว เป็นดินทรายที่ใครๆปรามาสว่าปลูกอะไรก็ไม่ขึ้น แต่พ่อผู้ใหญ่สมศักดิ์ก็ไม่ได้สนใจตัดสินใจซื้อที่ดินผืนนั้น เพื่อต้องการทำให้เป็นต้นแบบของ 1 ไร่ วัยทำงาน
เนื้อที่ 1 ไร่ ถูกออกแบบโดยยึดหลักความเหมาะสมของพื้นที่ พื้นที่ 1 ไร่ครึ่ง ของผมพื้นที่เป็นดินทรายทรายร่วนเป็นเม็ดๆเลย เป็นที่ต่ำ ทำนาก็ไม่ได้ ถ้าทำนาหน้าฝนก็น้ำท่วมเพราะมีคลองผ่าน แต่พอถึงฤดูแล้งน้ำแห้ง เวลาจะทำอะไรซักอย่าง พยายามทำในสิ่งที่คนไม่เชื่อ มันเป็นการท้าทายถ้าทำในสิ่งที่คนทำได้แล้วจะไปทำทำไม ผมตัดสินใจซื้อที่ตรงนี้ ตอนที่มาทำใครขับรถผ่านไปผ่านมาก็มองมาว่าทำอะไร ถามว่าจะทำได้เหรอ เพราะเขารู้ปัญหาของที่ดินผืนนี้ แต่ผมไม่สนและจะทำให้เห็นกับตา ผมตัดสินใจทำฝาย 2 ฝาย เพราะมีคลองผ่าน 100 กว่าเมตร ที่ตรงนี้มันแฉะเวลาน้ำมามันก็ท่วม ก็ต้องทำคลองไส้ไก่ หรือ ฟลัดเวย์รอบพื้นที่ ทีนี้พอน้ำมาที่เราก็น้ำไม่ท่วมแล้ว น้ำจะไหลไปรวมที่ฝายชะลอน้ำ แต่พอถึงหน้าแล้งฝายชะลอน้ำก็จะเก็บกักสะสมน้ำไว้อยู่ที่นั่น เป็นตาน้ำไว้ให้เราใช้ประโยชน์ในหน้าแล้ง”พ่อผู้ใหญ่อธิบายให้ฟังพร้อมทั้งพาเดินดูรอบสถานที่
1 ปี ปลูกต้นไม้ถามดิน พื้นที่น้ำไม่ท่วม และ น้ำไม่ขาด
ช่วง 1 ปี แรกถูกคนอื่นดูถูกสารพัด แต่ ผู้ใหญ่สมศักดิ์ก็ไม่ได้ใส่ใจ มุ่งมั่นปลูกต้นไม้ ปลูกเสร็จ ห่มฟาง ใส่ปุ๋ย รดน้ำแล้วก็ทิ้งเลย ตั้งแต่วันนั้น 3-4 เดือนก็เข้าไปทีนึง เพื่อเข้าไปแหวกต้นไม้ที่พันต้นไม้ ทำอยู่อย่างนั้นจนกระทั่ง 1 ปี ก็จะมีต้นไม้ที่ขึ้นและต้นไม้ที่ตาย แต่ส่วนใหญ่จะขึ้นมากกว่าตาย
พื้นที่ตรงไหนที่ต้นไม้ถูกน้ำท่วมตายผู้ใหญ่สมศักดิ์ก็ทำคลองไส้ไก่เพิ่ม ตรงไหนที่เป็นท้องกระทะก็ทำเป็นแก้มลิงอย่าปล่อยให้น้ำหยุดนิ่ง เพราะถ้าน้ำหยุดนิ่งเมื่อไหร่ ออกซิเจนไม่มี ต้นไม้ก็ไม่โต และในพื้นที่ก็จะปลูกต้นไม้หลายๆชนิด ให้สังเกตดูว่าปลูกต้นอะไรแล้วงามก็เลือกปลูกพืชชนิดนั้นในที่อื่นๆที่มีสภาพดินที่เหมือนกัน เป็นการปลูกต้นไม้แบบถามดิน ถามดินถามต้นไม้ สักปีหนึ่งต้นไม้ก็จะบอกเราเองว่าจะต้องแก้ไขอย่างไร
การทำเกษตรปัญหาไม่ได้อยู่ที่ดิน แต่ปัญหาอยู่ที่คนแก้ปัญหาอยู่ที่คนแก้ปัญหาเรื่องดินไม่ได้
คนที่มีที่ดินมีปัญหาเหมือนผม ทำนาก็ไม่ได้ ทำสวนก็ไม่ได้ ปัญหาสารพัดต่างๆนานา แต่ผมจะบอกว่าผมทำได้ ดินไม่ได้มีปัญหาหรอก แต่คนนี่สิมีปัญหาเพราะว่าแก้ปัญหาเรื่องดินไม่ได้ ที่แปลงนี้ให้ปลูก ปลูกต้นไม้ทิ้งไว้ แต่ก่อนจะทิ้งไว้ให้เขียนคิ้ว ทาปากเสียก่อน อย่างน้อยในหน้าน้ำ น้ำต้องไม่ท่วม หน้าแล้งต้องมีน้ำ ถ้าทำอย่างนี้ได้ในหน้าแล้ง พื้นที่ 1 ไร่กว่าๆ เสียบมอเตอร์รดน้ำแค่ชั่วโมงเดียวก็เสร็จแล้ว ปลูกทิ้งไว้แล้วบอกเพื่อนบ้านเข้าไปเก็บผักผลไม้กินได้แล้วฝากบอกให้เขาดูๆ สวนให้ด้วย
ผู้ใหญ่สมศักดิ์ยังยึดหลักอยากกินอะไรให้ปลูกอย่างนั้น เลือกปลูกสิ่งที่ง่ายที่สุด ในพื้นที่ 1 ไร่ ผู้ใหญ่สมศักดิ์ เลือกปลูกข่า อ้อย มะละกอ ขลู่ มันปู ตะเคียน ยางนา ไม้ไผ่ มะพร้าว หมาก ขนุน ช่วงแรกปลูกไปประมาณ 300-400 ต้น ตายไปเกือบครึ่ง เหลืออยู่ประมาณ 200 กว่าต้น หลังจากนั้นก็สังเกตดูต้นไม้ ตรงไหนที่จะพอทำเป็นแก้มลิงได้ ก็ขุดทำเป็นคลอง และเอาดินจากตรงนั้นไปถมที่ที่ต่ำ ในดินที่ 1 ไร่ ก็จะมีทั้งคลองไส้ไก่ แก้มลิง และ ฝาย
หากต้องการจะปลูกผักเพื่อเป็นรายได้ ผู้ใหญ่สมศักดิ์แนะนำว่าต้องเลือกปลูกชนิดที่ต้องการให้เป็นรายได้เพียงอย่างเดียว อย่างเช่นต้องการปลูกชะอมเพื่อเก็บยอดขาย ก็ให้ปลูกชะอมและศึกษาเรื่องชะอมมาอย่างดี ต้องรู้ว่าชะอมชอบอะไร ไม่ชอบอะไร ชอบน้ำเยอะไหม ชอบดินแบบไหน เรื่องนี้คนปลูกต้องรู้ ส่วนพื้นที่ที่เหลือไว้ปลูกผักพื้นบ้าน ปลูกแต้ว ชะมวง ผักพื้นบ้าน ชนิดต่างๆให้เต็มพื้นที่เลย แต่ไปดูแลชะอมเพียงอย่างเดียว แต่ห้ามปลูกทุกอย่าง เอาเงินทุกอย่าง เพราะเป็นเรื่องที่ทำได้ยาก และผักพื้นบ้านที่ปลูกไว้ก็เป็นพื้นฐานความมั่นคงทางอาหาร ปลูกไว้กินเองในครัวเรือนและแจกเพื่อนบ้าน
ผู้ใหญ่สมศักดิ์ ในรายการจุดชนวนทางช่อง nation tv
หากแต่เริ่มต้นเสียตั้งแต่ในช่วงที่มีเรี่ยวมีแรง มีกำลังวังชา พื้นที่ ๑ ไร่ ก็คงไม่ใช่ความฝันอีกต่อไป สนใจดูพื้นที่ต้นแบบ ๑ ไร่ วัยทำงาน
ติดต่อสอบถามได้ที่
ผู้ใหญ่สมศักดิ์ เครือวัลย์ ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติสองสลึง
ตำบลสองสลึง อำเภอแกลง จังหวัดระยอง 081-7822404
ขอบคุณข้อมูลจาก : จากหนังสือเกษตรกรรมธรรมชาติ ฉบับที่ ๔/๒๕๕๗ หน้า ๒๘ – ๓๒ บทสัมภาษณ์ผู้ใหญ่สมศักดิ์ เครือวัลย์
บทความที่ได้จัดทำขึ้นมานั้น มีจุดประสงค์เพื่อแบ่งปันความรู้ สาระ ความบันเทิง เรื่องราวกระแสโซเชียวที่มาแรงในขณะนั้น และความเชื่อส่วนบุคคล โปรดใช้วิจารณญาณประกอบในการอ่าน หากมีบทความใดให้ข้อมูลผิดพลาดหรือไม่ได้อ้างอิงข้อมูล ทางผู้จัดทำขออภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วย
สามารถติดต่อเพื่อแก้ไขหรือขอให้ลบบทความได้ที่เพจ : เพจนี้ มีให้แชร์
ขอบคุณที่มา : http://esannews.net/2018/03/27/1

ดอกดาหลาหลากสี พืชเศรษฐกิจตัวใหม่ตัดขายได้ตลอดปี สร้างรายได้งาม







   ศูนย์วิจัยพืชสวน จ.ตรัง แนะปลูก ดอกดาหลาหลากสี เป็นพืชเศรษฐกิจตัวใหม่ ตัดดอกขายได้ตลอดทั้งปี สร้างรายได้งาม 
   วันที่ 9 มกราคม 2561 ที่ศูนย์วิจัยพืชสวน จ.ตรัง ได้พัฒนาสายพันธุ์ดอกดาหลาซึ่งเป็นไม้พื้นเมืองภาคใต้ ให้เป็นพืชเศรษฐกิจตัวใหม่ที่ปลูกได้ทั้งกลางแจ้งและในที่ร่ม ดอกมีสีสันที่สวยงาม แข็งแรงและอยู่ได้นาน 7-10 วัน ใช้เวลาปลูกประมาณ 1 ปีก็จะเริ่มออกดอกต่อเนื่องตลอดทั้งปี
    เกษตรกรสามารถตัดขายได้ในราคาดอกละ 7-10 บาท โดยมีทั้งหมด 5 สี ใช้ชื่อว่าตรัง 1-ตรัง 5 ซึ่งพันธุ์ตรัง 1 ดอกจะมีสีขาว, ตรัง 2 ดอกสีบานเย็น, ตรัง 3 ดอกสีแดง,ตรัง 4 ดอกสีชมพูและตรัง 5 ดอกสีแดงเข้ม เกษตรกรสามารถปลูกแซมได้ทั้งในสวนยางพารา สวนปาล์มน้ำมันและอื่น ๆ โดยใช้ขนาดความกว้าง 3 คูณ 3 เมตร

   ทั้งนี้ ดอกดาหลา ใช้ประดับตกแต่งสถานที่และรับประทานเป็นผักสดกับข้าวยำ ชุบแป้งทอด ทำน้ำพร้อมดื่ม เหง้าใช้ปรุงอาหารได้ ขยายพันธุ์ง่ายคล้ายเหมือนพืชตระกูลข่า หรือนำเมล็ดสีน้ำตาลไปเพาะก็ได้ ที่สำคัญอย่าให้ขาดน้ำ เพราะดอกดาหลาชอบความชื้นในดิน ซึ่งในโอกาสสำคัญต่างๆ เช่นงานขึ้นบ้านใหม่ งานโรงเรียน งานประชุมสัมมนา จะทำให้ราคาของดอกดาหลาเพิ่มสูงขึ้น
   นอกจากจะให้สีสันที่สวยงามตลอดทั้งปีแล้ว ยังให้คุณค่าทางอาหารและประโยชน์ในด้านอื่นๆ อีกมากมาย โดยศูนย์วิจัยพืชสวนตรังกำลังเร่งเพาะชำต้นกล้าดอกดาหลาทั้ง 5 สีเพื่อจำหน่ายให้กับเกษตรกรที่สนใจและมองหารายได้เสริม โดยขายเพียงต้นละ 5 บาทเท่านั้น ส่วนเกษตรกรรายใดสนใจสามารถไปศึกษาดูงานได้ฟรี ที่ศูนย์วิจัยพืชสวนในวันและเวลาราชการ
   ซึ่ง นางชญานุช ตรีพันธ์ นักวิชาการเกษตรชำนาญการ ศูนย์วิจัยพืชสวนตรัง กล่าวว่า มีดาหลาแนะนำรวม 5 สีทั้งสีขาว สีชมพู สีบานเย็น สีแดงและสีแดงเข้ม ใช้เวลาปลูก 1-1.5 ปี ก็สามารถตัดดอกขายได้ในราคา 5-10 บาทแล้วแต่ฤดูกาล และตัดดอกขายได้ตลอดทั้งปี โดยระวังอย่าให้ขาดน้ำ ส่วนใครที่สนใจสามารถติดต่อซื้อต้นกล้าได้ที่ศูนย์วิจัยพืชสวนตรัง ซึ่งดอกดาหลาสามารถนำไปทำเมนูอาหารและตกแต่งสถานที่ได้อย่างสวยงาม


ที่มา : https://news.mthai.com/economy-news/609428.html